วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

จรรยาบรรณเลขานุการ

จรรยาบรรณของอาชีพเลขานุการ   
                        1.        ปฏิบัติตามกฎขององค์การที่ตนสังกัด อย่างเคร่งครัด เป็นตัวอย่างที่ดีต้องปฏิบัติตนตามกฎและระเบียบขององค์กร  ด้วยความจริงใจ  และจะไม่ทำลายภาพลักษณ์หรือชื่อเสียงขององค์กร
                        2.   ซื่อสัตย์สุจริต ธำรงไว้ซึ่งมโนธรรม บนหลักแห่งความถูกต้องยุติธรรม ธำรงไว้ซึ่งความซื่อสัตย์สุจริตอันสูงสุดต่อตนเอง  และต่องานในหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ
                        3.   มีความรับผิดชอบอย่างสูงมีความรับผิดชอบต่องานของตนเองของผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา                        
                      4.   ศึกษาและเรียนรู้ความก้าวหน้าทางวิทยาการใหม่   อยู่เสมอ ประสบการณ์และการฝึกฝนด้านงานอาชีพเลขานุการ  การจัดการ  รวมทั้งหาทางเพิ่มพูนความสามารถ   และความเข้าใจในงานอาชีพเลขานุการ  โดยการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารซึ่งกันและกัน
                      5.   ส่งเสริมให้มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลภายในองค์กร  และภายนอกองค์กร
                        6.   รักษาความลับได้ดีรักษาความลับของงานในหน้าที่และจะไม่ใช้ความลับนั้นเป็นประโยชน์ส่วนตัว  หรือในลักษณะที่จะก่อความเสียหายต่อองค์กร
                     7.   มีพฤติกรรมที่ดีไม่ทำให้เสียภาพพจน์ ทำลายศักดิ์ศรี หรือเสียชื่อเสียงของอาชีพเลขานุการคำนึกถึงความต้องการและปัญหาของผู้บังคับบัญชา และผู้ใต้บังคับบัญชาและในฐานะผู้นำ จงทำตนให้เป็นตัวอย่างที่ดี                  

slide show

ผลงานสไลด์นักศึกษา

ความหมายของเลขานุการบริหาร



  ความหมายของเลขานุการบริหาร
         เลขานุการบริหาร  (Executive secretary)   หมายถึง ผู้ช่วยผู้บริหารในการประสานงานกับแผนกต่าง ๆ ส่วนร่วมในการพิจารณางานทางด้านการวางแผน งานนโยบาย ตลอดจนเป็นตัวแทนขององค์กรในการประสานงานกับหน่วยงานอื่น
                คำว่า  EXECUTIVE   สามารถแยกคำศัพท์ออกได้  8  คำ  และในแต่ละคำมีความหมายและความสำคัญเพื่อให้เลขานุการบริหารได้นำไปปฏิบัติดังต่อไปนี้
                Ex  =  Execution  ความสามารถในการบริหารจัดการ  เลขานุการบริหารจะต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของผู้ใต้บังคับบัญชา และของผู้บังคับบัญชา
                E  =  Efficiency  ความมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน  เลขานุการบริหารจะต้องมีสมรรถภาพในการทำงาน จึงทำให้ผลงานออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ
                C  =  Convention   ระเบียบแบบแผน  หรือการประชุม  เลขานุการบริหารจะต้องเป็นผู้นำที่ดี มีระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติงาน  และ  เพื่อเป็นที่เคารพของผู้ใต้บังคับบัญชา
                U  =  Umpire   ผู้ชี้ขาด  ผู้ตัดสิน  ทำหน้าที่ชี้ขาด  เลขานุการบริหารจะต้องเป็นมีอำนาจในการตัดสินใจในการทำงาน
                T  =  Technique   ความชำนาญ   เลขานุการบริหารจะต้องมีความชำนาญ หรือมีเทคนิคในการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่  เข้ามาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้ทันกับยุคของไอที
                I  =  Ideally  แบบอย่างอันเลิศ  สุดยอด เลขานุการบริหารจะต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี   ทั้งในด้านการปฏิบัติตน และการทำงาน
                V  =  Validate  มีเหตุ  มีผล  เลขานุการบริหารจะต้องให้หลักของการทำงานอย่างมีเหตุ     มีผลในการทำงานกับเพื่อนร่วมงาน
                E  =  Esteem    ความน่านับถือ  น่าสรรเสริญ  เลขานุการบริหารต้องประพฤติ  ปฏิบัติตนให้น่าเคารพ  นับถือ  และเป็นผู้นำที่ดีแก่ผู้ร่วมงานและผู้มาติดต่อประสานงาน
                ฉะนั้น  เลขานุการบริหาร  (Executive secretary)  นอกจากจะหมายถึง  ผู้ช่วยผู้บริหารในการประสานงานกับแผนกต่าง  ๆ  มีส่วนร่วมในการพิจารณางานทางด้านการวางแผน  งานนโยบาย  ตลอดจนเป็นตัวแทนขององค์กร  ในการประสานงานกับหน่วยงานอื่น  แต่ต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการ  งานที่ออกมาจะต้องมีประสิทธิภาพ  เป็นผู้นำที่ดี ใช้เหตุ ใช้ผลในการตัดสินปัญหา หรืออาจให้คำว่า  Executive assistant  ซึ่งแปลว่า ผู้ช่วยผู้บริหาร
               

My Idol

My Idol
แม่ของฉัน
คำปิน  ศักดิ์สอ  เพราะท่านเป็นแม่ที่ประเสริฐสำหรับฉัน  แม่คือผู้ให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่ฉันต้องการ  ให้ทั้งความรู้